ทิศทางการปรับเปลี่ยนของ Buyer persona หลังผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 “Connectedness”

คือการเปลี่ยนแปลงด้วยการรวมดิจิทอลและเทคโนโลยีข้ามาเป็นส่วนนึงของชีวิตประจำวัน โดยการผลักดันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เช่น เทคโนโลยี AR, ระบบ Wireless, Digital Banking, Cloud system & Internet of things จึงตามมาด้วยความท้าทายต่างๆดังนี้

  • ความท้าทายที่ 1: การแข่งขันที่เข้มข้นในระบบบล็อคเชน
  • ความท้าทายที่ 2: ความหลากหลายทางลักษณะบุคลิกของกลุ่มเป้าหมาย (Multiple Buyer Persona)
  • ความท้าทายที่ 3: ขอบเขตความสามารถของทีมงานและการตลาด

จากความท้าทายที่ 2 จึงนำมาสู่การสร้างลักษณะบุคลิกของกลุ่มเป้าหมายออกมาเป็น 2 กลุ่มหลักดังนี้

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า เปรียบเป็น “ฉลาม”
  • ผู้ค้าปลีกทั่วไป เปรียบเป็น “ลูกฉลาม”

Tip สำหรับจัดการกับ Buyer persona 

  1. สร้างข้อความสื่อสารเฉพาะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย : เพราะลูกค้าทุกคนใช่ว่าจะต้องการในสิ่งเดียวกันอีกทั้งความต้องการที่แตกต่างกันทำให้นักการตลาดต้องมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่กลุ่ม
  2. สร้างแพลทฟอร์มของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย : Platform เป็นสิ่งสำคัญในการใช้เพื่อเข้าหากลุ่มลูกค้า ดังนั้นการจับจุดที่ชัดเจนของลูกค้าในแต่ละ Platform ได้ก็จะสามารถช่วยให้เรา Focus ได้ว่า Platform ไหนควร Focus ลูกค้าแบบไหน เช่น Linkedin ของคุณอาจจะเป็นช่องทางที่ใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้ากลุ่ม B2B เป็นหลักที่ต้องการความ Professional
  3. ปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายให้แตกต่างกัน : ลูกค้าแต่ละคนที่ในยุคนี้แทบจะทุกคนล้วนต้องการความ Personalize จึงเกิดโจทย์เฉพาะของลูกค้าเฉพาะกลุ่มขึ้นมามากมาย ดังนั้นยิ่งการกระทำของเราตอบโจทย์เฉพาะนี้ได้มากเท่านั่นหมายความว่าเราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เช่นกัน
  4. รับรู้ถึงแนวความคิดของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย : การรู้ Consumer insight นั้นเป็นประโยชน์ต่อารวางแผนในการทำการตลาดเสมอ และยิ่งถ้าเราามารถรับรู้ถึง Consumer insight ของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายก็สามารถวางแผนการตลาดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น
  5. เข้าใจ Customer journey ของกลุ่มเป้าหมาย : การเข้าใจใน Customer journey จะสามารถทำให้เรารู้ว่าจุดไหนคือ turning point ในการตัดสินใจแต่ละ stage ของแต่ละกลุ่มลูกค้าและสามารถ focus ได้อย่างถูกจุด

พิธีปิดClosing Keynote

ก่อนจะปิดงานได้มีการเชิญคุณ Melanie Perkins ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารของ Canva และคุณ Dharmesh Shah CTO และผู้ร่วมก่อตั้งของ HubSpot ขึ้นมาร่วมพูดคุยถึงแนวทางธุรกิจต่อไปในปี 2020 ด้วยกัน และก่อนจะจากกันไป ทั้งสองคนได้ฝากไว้ซึ่งแนวทางและข้อคิดดังนี้

  • Canva ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของกลุ่มคนและถูกพัฒนามาจากการวิจัยการตลาดจากความต้องการจากกลุ่มผู้ใช้
  • Hubspot รองรับการตลาดอย่างหลากหลาย และการตลาดคือภาพของธุรกิจ
  • การตลาดที่ดีจะมาเมื่อเรามองและเห็นภาพได้
  • การตลาดเชิงเนื้อหาจะสร้างการพูดกันแบบปากต่อปากสู่ชุมชนและสังคม
  • ฐานลูกค้าของบริษัทจะสร้างวงจรขาเข้าให้กับธุรกิจนั้นๆ
  • ชุมชนมาจากแพลทฟอร์มการสร้างแบรนด์ เช่น Hubspot Academy, Canva Design School (ให้ฐานความรู้ที่มากมายเกี่ยวกับแบรนด์) + (เพิ่มความมั่นใจของลูกค้าและเพิ่มแนวโน้มที่จะหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา)
  • เพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์แม้ว่าพวกเขาจะซื้อหรือไม่ก็ตาม
  • สร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือฟังก์ชั่นที่สามารถจูงใจให้ซื้อสินค้าแบบฟรีๆ เพื่อไปถึงผลลัพท์ที่จะตามมาให้สูงที่สุด (Freemium)
  • แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของผู้ใช้ที่จ่ายเงินหรือสินค้าชูโรงเพื่อสร้างความต้องการซื้อ
  • “ลองหลายๆทางและมองหาข้อบกพร่องต่างๆและผลที่จะตามมาคือเราจะรู้ว่าเรามีดีอะไร”
  • เดินไปในทางที่หลากหลายโดยเริ่มจากที่ๆใกล้กับเขตปลอดภัยของเราและลองขยายออกไปเรื่อยๆ
  • ช่วงเวลาที่น่าภูมิใจที่สุดคือเมื่อเราเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ
  • “มีบางคนส่งข้อความทางไลน์ไปเพื่อขอบคุณที่สร้าง Canva และที่ได้ช่วยเหลือบ้านเด็กกำพร้าเพื่อหาผู้ปกครองที่จะมารับเลี้ยงเด็กเหล่านั้นผ่านทางงานศิลปะ”
  • HubSpot & Canva มุ่งเน้นทำให้งานของผู้คนนั้นง่ายขึ้น
  • เมื่อคุณรู้สึกหมดไฟกับมัน ก็แค่ปล่อยมันไป (ธุรกิจที่เปิดใหม่) หรือเมื่อคุณมีสิ่งที่สำคัญกว่าที่คุณจำเป็นจะต้องใช้เวลากับมัน