คุณอาจจะสงสัยว่าทำอย่างไรให้แคมเปญการตลาดช่วยผลักดันธุรกิจของคุณ ถือเป็นคำถามสำคัญเลยทีเดียว แต่สิ่งที่คุณต้องทำจริงๆ ก็คือการสละเวลาเพื่อค้นหาว่าปัจจัยใดที่ทำให้แคมเปญการตลาดที่ดีนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ จุดมุ่งหมายของเราก็คือการทำให้แคมเปญการตลอดของคุณประสบความสำเร็จ แล้วปัจจัยอะไรกันที่ทำให้เกิดผลสำเร็จล่ะ?

ปัจจัยที่ทำให้แคมเปญการตลาดของคุณประสบความสำเร็จ

  • ความชัดเจนและมีคุณค่า

ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แคมเปญการตลาดของคุณประสบความสำเร็จในระยะยาวนั่นก็คือระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายของแคมเปญการตลาดนี้คือใครและจะทำอย่างไรให้ที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย

แน่นอนว่าแคมเปญการตลาดที่ดีนั้นจะต้องสร้างคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีผลประโยชน์หรือตรงกับความต้องการขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ

  • ถูกเวลาและกลุ่มเป้าหมาย

เพื่อการนำเสนอความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์นั้นจะต้องนำเสนอให้ตรงถูกเวลา ถูกระยะที่อยู่ใน Buyer’s Journey เพราะหากช่วงเวลาที่คุณนำเสนอนั้นไม่ใช่ช่วงที่กลุ่มเป้าหมายต้องการมากที่สุดก็เป็นการยากที่กลุ่มเป้าหมายจะรู้สึกอยากเข้าหาแคมเปญการตลาดของคุณ

ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระยะที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อสินค้านั้นๆ แล้วพวกเขาคงไม่สนใจบทความหรือคอนเทนต์ที่กล่าวถึงปัญหาของการไม่ได้ใช้สินค้า กลุ่มเป้าหมายก็เป็นเป็นอีกประเด็นสำคัญนอกจากเวลาที่สมควร

  • สอดคล้องภาพลักษณ์แบรนด์

การทำแคมเปญการตลาดนั้นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพลักษณ์ ทิศทางของบริษัทหรือองค์กรนั้น โดยต้องเน้นย้ำแคมเปญร่วมไปกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ในแคมเปญการตลาดอยู่เสมอๆ

  • การออกแบบสอดคล้องกันทุกส่วน

อีกเรื่องที่ผู้ทำแคมเปญการตลาดไม่ควรละเลยอย่างยิ่งก็คือเรื่องของ Layout Design หรือกระทั่งข้อความที่ใช้ในแคมเปญต้องสวยงาม สอดคล้องประสานกันเป็นอย่างดี เพราะเป็น First Impression ที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจนั่นเอง

สร้างแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพทำยังไง?

กระบวนการในการสร้าง, การจัดการและแก้ปัญหาแคมเปญการตลาดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางมีอยู่ 6 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งก่อนจะไปถึงขั้นตอนนั้นคุณต้องมีภาพในหัวก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร พวกเขาต้องการอะไรและพวกเขามีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง นั่นก็คือการทำ Buyer’s Persona ซึ่งมีองค์ประกอบที่คุณจะต้องหาคำตอบให้ได้ ดังนี้

  • ใครคือต้นแบบของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้มุ่งหวังในแคมเปญนี้
  • พวกเขามีปัญหาในเรื่องใดอยู่
  • ความต้องการและความสนใจของพวกเขามีอะไรบ้าง?
  • คุณจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไรบ้าง? เช่น พวกเขาใช้ช่องทางใดในการค้นหาทางแก้ปัญหาของตัวเอง
  • คอนเทนต์ ประเภทไหนที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

แม้ว่าคุณจะทำ Buyer’s Persona แล้วแต่ก็ยังมีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งทำให้คุณสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพได้ ประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. ปัจจัยด้านคอนเทนต์
  2. แสดง “ข้อเสนอ” ผ่านหน้าเว็บไซต์
  3. กระบวนการทำ E-Mail Marketing โดยใช้ Workflow
  4. การทำการตลาดกับกลุ่มผู้ติดต่อที่มีอยู่
  5. โปรโมทคอนเทนต์ผ่านช่องทางต่างๆ
  6. ประเมินผลและแก้ปัญหาที่เกิด

1. ปัจจัยด้านคอนเทนต์

คอนเทนต์นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Inbound Marketing ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดของการทำ Buyer’s Journey ก็ตาม ซึ่งคอนเทนต์แต่ละประเภทก็มีพลังและความหมายในตัวเองที่ช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายในการเปลี่ยนบทบาทใน Buyer’s Journey เช่นกัน

ทั้งนี้สิ่งที่คุณพึงระลึกไว้ในการทำคอนเทนต์นั้นก็คือ ประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละบทบาทใน Buyer’s Journey นั้นแตกต่างกันไป กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาหาคุณเป็นครั้งแรกก็มีความต้องการหรือความสนใจแตกต่างกับกลุ่มเป้าหมายในบทบาทอื่นๆ โดยแต่ละขั้นแต่ละบทบาทใน Buyer’s Journey ก็มีความต้องการแตกต่างกัน ดังนี้

  1. Awareness Stage การสร้างความตระหนักถึงความต้องการสินค้าหรือบริการให้กลุ่มเป้าหมาย
  2. Research and Education การสนองความต้องการหรือความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์ให้กลุ่มเป้าหมาย
  3. Comparison and Validation การนำเสนอข้อดี-ข้อเสียเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกสินค้าของเรา
  4. Purchase การสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายเลือกสินค้าหรือบริการของเราซึ่งต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวล เข้าใจและเห็นอกเห็นใจ
  5. Satisfaction and Advocacy เมื่อกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกสินค้าของคุณแล้ว คุณต้องทำให้พวกเขาพอใจต่อไป เพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำและบอกต่อในที่สุด

ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องมองหาจุดอ่อนหรือช่องว่างในการทำการตลาดของคุณ คุณจะต้องดูให้ออกว่าเป้าหมายในการทำแคมเปญการตลาดในครั้งนี้เป็นอย่างไร เช่น การเปลี่ยนจาก Visitor ให้เป็น Leads หรือการเปลี่ยน Leads ให้เป็นลูกค้า (Customers) ซึ่งเป้าหมายที่แตกต่างกันก็มีผลต่อความแตกต่างของประเภทคอนเทนต์ หากเป็นในช่วง Top of the Funnel ที่มีเป้าหมายเป็นการเปลี่ยนผู้เยี่ยมชม (Visitors) ให้เป็นผู้เข้าชม (Leads) คุณอาจจะต้องทำคอนเทนต์ประเภท E-Book Infographic หรือ คอนเทนต์บทความทั่วไป เป็นต้น

เมื่อคุณทำความเข้าใจเรื่องการทำคอนเทนต์ในแคมเปญการตลาด จึงควรทราบองค์ประกอบการเลือกคอนเทนต์ดังต่อไปนี้

  • หาคอนเทนต์ที่ใช่ (Find the Right Content)

การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการ ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยการสำรวจว่าคอนเทนต์ไหนของคุณที่ทำแล้วมีคนให้ความสนใจมากที่สุด คอนเทนต์ไหนมียอดผู้ชมสูงที่สุด คอนเทนต์ไหนที่มียอดแชร์สูงที่สุด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะใช้เป็นองค์ประกอบในการทำผลิตผลงานใหม่ๆ

แต่หากคุณไม่มีข้อมูลเหล่านี้ การใช้ตัวช่วยอย่าง Google Analytic หรือการหาข้อมูลความสนใจผ่าน Public Domain เพื่อประมวลข้อมูลในการทำคอนเทนต์ก็ได้เช่นกัน

  • หารูปแบบการนำเสนอที่ใช่ (Find the Right Format)

เมื่อคุณเลือกหัวข้อคอนเทนต์ที่ต้องการได้แล้ว คุณจะต้องคิดต่อด้วยว่าคอนเทนต์ของคุณจะถูกผลิตออกมาในรูปแบบใดเพื่อให้ได้รับผลตอบรับดีที่สุด การหารูปแบบคอนเทนต์ที่จะนำเสนอนั้นอาจขึ้นอยู่กับช่องทางของกลุ่มเป้าหมาย เช่น พวกเขาฟัง Podcast  หรือพวกเขาอ่านอีบุ๊กส์ หรือชอบเสพวิดีโอสั้นๆ ซึ่งการดูผลสำรวจข้อมูลที่คุณรวบรวมไว้ก่อนหน้านี้จะช่วยให้คุณหาคำตอบได้ง่ายขึ้นว่าควรทำคอนเทนต์ออกมาในรูปแบบใด

รวมพลังสร้างทีมงานผลิตคอนเทนต์ (Recruit a Team of Content Creator)

สิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้ก็คือการทำคอนเทนต์นั้นไม่ควรเป็นภาระหนักอึ้งบ่นบ่าของใครคนใดคนหนึ่งในทีม ทุกคนในทีมหรือกระทั่งทั้งบริษัทของคุณต่างก็มีสิทธิ์ในการออกสียงคนละ 1 เสียงเพื่อจะแสดงความเห็นถึงความต้องการที่ลูกค้าต้องการ การขอความเห็นจากทีมงานทำได้ดังนี้

  1. ขอความเห็นถึงหัวข้อคอนเทนต์ที่น่าสนใจ
  2. สัมภาษณ์เพื่อให้เขาได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่
  3. เชิญชวนพวกเขามาช่วยกันเขียนคอนเทนต์
  4. ขอความเห็นผ่านการทำ Slide Present หรือการสัมมนาออนไลน์ (Webinar)
  5. รวบรวมความเห็นจากหลากลายทาง

นอกจากการสัมภาษณ์ทีมงานหรือทุกคนในบริษัทแล้ว การรับฟังความคิดเห็นจากคนภายนอกหรือคนอื่นก็เป็นอีกทางที่ช่วยสร้างคอนเทนต์ได้เช่นเดียวกัน คนที่คุณสัมภาษณ์อาจจะเป็นนักการตลาด นักเขียนอิสระที่มีบล็อก หรืออีบุ๊กส์หรือกระทั่งคนที่รับเขียนงานเป็นงานประจำก็ได้

เมื่อได้หัวข้อคอนเทนต์ที่คุณต้องการแล้ว คุณจำเป็นต้องคิดประเด็น ชื่อหัวข้อ แนวทางการเขียนและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้าถึงคอนเทนต์นั้นๆ ด้วย ซึ่งการสร้างสรรค์คอนเทนต์คุณอาจจะไม่ต้องลงมือทำเองแต่หาแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายจากหน้าเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Zerys WriterAccess  หรือกระทั่ง Hubspot เองก็มีบริการนี้เช่นกัน นอกจากนี้คุณยังอาจว่าจ้างบล็อกเกอร์หรือกระทั่งพาร์ทเนอร์มาช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้อีกด้วย

ปรับเปลี่ยนเนื้อหาในคอนเทนต์เก่าให้น่าสนใจมากขึ้น (Repurpose Content)

เรื่องหนึ่งที่คุณควรตระหนักในฐานะคนทำคอนเทนต์นั่นก็คือคอนเทนต์ทุกชิ้นที่คุณสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นสามารถปรับเปลี่ยน นำกลับมาใช้หรือกรทั่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอได้ตลอด ทั้งยังสามารถนำไปเผยแพร่ในช่องทางที่แตกต่างจากเดิมได้อีกด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ผสมผสานเอาเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือเข้ากับไฟล์วิดีโอกลายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม (Multimedia E-book) ได้ด้วย
  • เปลี่ยนรูปแบบจากวิดีโอหรือการสัมมานาออนไลน์ (Webinars) ให้กลายเป็นบล็อก, อีบุ๊กส์หรือจะปรับจากบล็อกให้มาเป็นวิดีโอก็ได้
  • รวบรวมเอาคำถาม คำตอบ ความคิดเห็นที่ได้จากการสัมมานาออนไลน์ (Webinars) มาสร้างเป็นบล็อกหรืออีบุ๊กส์ก็ได้
  • สร้าง Infographics, วิดีโอหรือบล็อกโพสต์ก็ได้

หัวใจสำคัญของการนำคอนเทนต์เก่ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือโพสต์ใหม่นั้นคุณต้องมั่นใจว่าเนื้อหานั้นได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยมากขึ้นแล้ว โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่ล้าสมัย ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ให้นำเสนอได้ในหลากหลายรูปแบบเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นการอัพโหลดไฟล์วิดีโอขึ้นYoutube ฯลฯ

2. แสดง “Content Offer” ผ่านหน้าเว็บไซต์

เมื่อคุณสร้าง “Content Offer” ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องโฟกัสให้ถูกคนเพื่อการสร้าง Lead ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีตัวช่วย 2 ตัวที่จะทำให้การ Content Offer ของคุณประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ “CTAs” และ”Landing Pages”

Call to Action (CTAs) เป็นเครื่องมือหลักที่จะช่วยเรียกคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ให้ลงมือกระทำบางอย่าง อย่างเช่น การดาวน์โหลดหรือการร่วมมือทำตาม Content Offer บางอย่าง อาจกล่าวว่ามันเป็นเครื่องมือหนึ่งบนหน้า Landing Pages  CTAs มักจะถูกวางในตำแหน่งยุทธศาสตร์ของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งทำให้เกิดยอดผู้เยี่ยมชมของหน้า Landing Pages, ช่วยเปลี่ยนผู้เยี่ยมชม(Visitors) ให้กลายเป็น Leads

“CTAs” ควรวางไว้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์, หน้าบล็อก, หรือหน้าใดก็ได้ที่มียอดผู้เยี่ยมชมสูงๆ หรือหน้าที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมตัดสินใจได้ว่าจะไปหน้าไหนต่อ

Call to Action : คือโฆษณาและแผนการตลาด, เป็นคำสั่งหรือการชี้แนวทางให้ลงมือกระทำการบางอย่าง บ่อยครั้งการกระทำหลังจาก Call to Action มักจะเป็นการให้ลูกค้าซื้อบริการหรือสินค้า

อย่างไรก็ตาม CTAs ไม่สามารถทำงานโดยลำพังได้ Content Offer ของคุณนั้นต้องการที่อยู่บนเว็บไซต์ที่คุณสามารถวัดผล ประเมินผู้เยี่ยมชม ยอดการกระทำบางอย่างต่อเว็บไซต์ (Conversions) รวมไปถึงยอดออกจากเว็บไซต์โดยไม่ไปหน้าอื่นต่อ (Bounce Rate) โดยหน้าหลักของ CTAs ก็คือหน้า Landing Pages นั่นเอง

ทำอย่างไรให้ Landing Pages มีประสิทธิภาพ

หากว่าคุณยังไม่รู้จัก Landing Pages อธิบายง่ายๆ Landing Pages นั้นก็คือหน้าเพจหนึ่งของเว็บไซต์ของคุณที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยน Content Offer ของคุณกับข้อมูลของผู้เยี่ยมชม จากนั้นก็เปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็น Leads ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ในสิ่งที่คุณต้องการ ทุกฝ่ายก็ Win-Win (แต่ถ้าไม่ Win-Win ทั้งสองฝ่ายนั่นก็เป็นปัญหา)

เคล็ดลับในการทำ Landing Pages

  • ทำ “Content Offer” ให้ชัดเจน เข้าใจง่าย
  • ทำ Content Offer ให้เป็นข้อๆ (Bullet Points)
  • ใช้ภาพที่ดึงดูด
  • แบบฟอร์มต้องสั้นกระชับ

จริงๆ แล้ว Landing Pages นั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างง่าย ก็แค่อธิบาย “Content Offer” ใส่ภาพ และก็ใส่แบบฟอร์มที่ทำให้คนลงมือกระทำ คุณไม่จำเป็นต้องใส่อะไรให้มากมายเพราะมันจะทำให้ผู้เยี่ยมชมนั้นไขว้เขวไปจากการกดยอมรับ (Submit) แล้วก็เปลี่ยนสถานะมาเป็น Leads

มีแนวทางมากมายที่จะทำให้ Landing Pages ดีขึ้นและทำให้ยอดการเปลี่ยนผู้เยี่ยมชมมาเป็น Leads สูงขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ “หัวเรื่อง”, “เนื้อหาของเพจ” และ “แบบฟอร์ม” ที่ใช้เพื่อให้พวกเขากรอกข้อมูลกับคุณ

  • หัวเรื่อง

คนทั่วไปนั้นมักจดจ่อเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ด้วย ดังนั้นคุณจะต้องทำให้หัวข้อเข้าใจง่ายมากเท่าที่ทำได้เพียงชั่วพริบตา เป็นไปได้มั้ยที่คุณจะทำให้ผู้เยี่ยมชมเข้าใจ Content Offer และสิ่งที่คุณต้องการให้พวกเขาทำในระยะเวลาน้อยกว่า 5 วินาที หัวข้อจะต้องทำให้ Content Offer ของคุณง่ายและเข้าใจได้ในทันที อีกทั้งยังต้องสะท้อนถึงข้อความของ CTAs เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เยี่ยมชมว่าพวกเขาจะได้ในสิ่งที่พวกเขาคาดหวัง

  • เนื้อหา

ส่วนเนื้อหาของหน้า Landing Pages นั้นจะต้องอธิบาย Content Offer ของคุณอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงทั้งยังต้องบอกด้วยว่าทำไมผู้เยี่ยมชมถึงต้องเข้าร่วม การแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ หรือเรียงเป็นข้อๆ จะทำให้ Content Offer เหล่านี้ง่ายและรวดเร็วต่อการทำความเข้าใจ ทั้งยังช่วยแสดงถึงคุณค่าของ Content Offer ของคุณได้ด้วย ตัวหนาและตัวเอียง หรือรูปแบบที่แตกต่างก็มีผลต่อการแสดงผลทั้งสิ้น

  • รูปภาพ

หน้า Landing Pages นั้นจำเป็นต้องมีรูปภาพมาช่วยสื่อสาร Content Offer ไม่ว่าภาพนั้นจะเป็นปกของอีบุ๊กส์ หรือจะเป็นภาพเปิดของคนที่ใช้ในการสัมมนาออนไลน์ ภาพนั้นสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเรียกความสนใจจากผู้เยี่ยมชมและให้คุณได้นำเสนอสิทธิประโยชน์และความน่าเชื่อถือ

  • แบบฟอร์ม

ส่วนที่เหลือของ Landing Pages จะไม่มีความหมายเลยถ้าแบบฟอร์มนั้นมีความซับซ้อนมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ผู้เยี่ยมชมที่กำลังจะกลายเป็น Leads ตีจากไปได้ ดังนั้นคุณจะต้องสร้างให้ฟอร์มนั้นอยู่ในจุดที่เปิดเข้ามาแล้วเห็นได้ทันที และถามถึงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประเมินและติดตาม โดยทั่วไปก็ไม่ควรเกิน 4-5 คำถามหรือช่องกรอกข้อมูล แต่หากมีการกรอกข้อมูลมากกว่านั้นก็ให้เลือกได้ว่าจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

ข้อมูลที่ควรให้กรอกจำพวกชื่อและอีเมล์รวมไปถึงช่องทางติดต่อของ Leads คุณสามารถใส่มันลงใน Workflows และเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคตได้ ส่วนคนที่กรอกข้อมูลประเภทจำนวนพนักงาน ชื่อตำแหน่ง คุณมีสิทธินำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาเพราะมีโอกาสสูงที่คนเหล่านั้นจะกลายเป็นลูกค้า

แน่นอนว่าหากคุณเป็นลูกค้าของ Hubspot แล้วล่ะก็คุณสามารถใช้ Smarts Form เพื่อเก็บข้อมูลใหม่ๆ จาก Leads ในทุกครั้งที่พวกเขากรอกข้อมูลใหม่ๆ

ความยาวของแบบฟอร์มที่คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างปริมาณและคุณภาพของ Leads ที่คุณสร้างขึ้นมา ในขณะที่คนทั่วไปชอบที่จะกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่สั้นกว่า แต่ Leads ที่มีคุณภาพสูงกว่าจะได้มาต่อเมื่อผู้เยี่ยมชมพร้อมจะกรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองและสิ่งที่พวกเขาสนใจ

3. กระบวนการทำ E-Mail Marketing โดยใช้ Workflow

เมื่อคุณกำลังออกแบบ Content Offer ทางการตลาดที่ว้าวมากและกำลังจะใส่มันลงไปในเว็บไซต์ ก่อนที่คุณจะเริ่มขับเคลื่อนผู้เยี่ยมชมเข้าสู่เว็บไซต์ คุณควรพิจารณาว่าคุณจะฟูมฟัก Leads หน้าใหม่ๆ อย่างไรเมื่อคุณสร้าง Content Offer ใหม่ๆ ขึ้นมา คุณจะสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัท, ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้พวกเขาอย่างไรเพื่อให้พวกเขาหันมาสนใจ

  • Workflows คืออะไร?

Workflows คือ การทำอีเมลล์ตอบกลับอัตโนมัติเพื่อส่งให้กับ Leads ที่คุณคิดว่าน่าจะมีคุณภาพ Workflows ช่วยกระตุ้นการกระทำบางอย่าง เช่น การดาวน์โหลดอีบุ๊กส์ หรือการสมัครร่วมการสัมมนาออนไลน์ Workflows ถูกออกแบบมาเพื่อสร้าง Leads ใหม่ๆให้เพิ่มขึ้น Workflows อาจได้รับการรู้จักในชื่ออื่นๆ เช่น การฟูมฟัก Leads ขั้นสูงสุด, การทำการตลาดแบบอัตโนมัติ, การตลาดแบบหยดน้ำ หรือการโต้ตอบอัตโนมัติ

  • ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ยอดการตอบสนองผ่านอีเมล์ลดลงอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุของ Leads เรื่องนี้ Dan Zarrella นักวิทยาศาสตร์ด้านโซเชียลมีเดียของ Hubspots มีข้อมูลที่ยืนยันข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชมจะกดติดตามผ่านอีเมล์ล่าสุดอย่างไรและจำนวนคลิกที่โฆษณาได้รับหารด้วยจำนวนครั้งที่โฆษณาปรากฏ (Click Through Rate CTR)

เมื่อคุณเริ่มสร้าง Workflows แล้วมี Leads ใหม่ๆ เข้ามาอีเมล์ก็จะถูกส่งออกไปอัตโนมัติตามเวลาที่คุณตั้งเอาไว้ คุณอาจจะปล่อยแคมเปญแล้วลืมมันไปแล้ว แต่อีเมล์ก็ยังมีประโยชน์สำหรับคุณอยู่ดี มันช่วยคุณคัดสรร Leads ที่มีคุณภาพ และนำทางพวกเขาให้เข้าสู่กระบวนการขายเร็วขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมาย

อีกทางที่ช่วยพิสูจน์ความสามารถของ E-mail Marketing ก็คือกำหนดข้อความที่จะส่งไปสู่ Leads กลุ่มที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การฟูมฟัก Leads ช่วยเปิดทางให้คุณสามารถผูกชุดอีเมล์เข้ากับกิจกรรมพิเศษหรือเหตุการณ์พิเศษๆ เช่น กลุ่มคนที่กรอกข้อมูลเพื่อรับอีบุ๊กส์อาจจะได้รับอีเมล์ตอบรับที่ดีกว่าคนที่สมัครเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในทำนองเดียวกัน เจ้าของธุรกิจอาจจะสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการมากกว่าทีมเซลล์

Marketing Automation คือการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านช่องทางที่หลากลาย เช่น อีเมล์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และกระทำซ้ำๆ คล้ายการตอบรับผ่านอีเมล์

  • การแบ่งกลุ่ม

ไม่ใช่ว่าผู้ติดต่อที่คุณมีรายชื่ออยู่ทุกคนจะมีความต้องการและจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน แม้กระทั่งตอนที่คุณมี Buyer Persona ที่เจาะจงแค่ไหนก็ตาม เพื่อที่จะสร้างกลุ่มเป้าหมายการตลาดที่มีประสิทธิภาพคุณจำเป็นจะต้องแตกกลุ่มผู้ติดต่อให้เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือแบ่งกลุ่มจัดกลุ่มพวกเขา

การสร้างกลุ่มเล็กๆ นั้นคุณสามารถจัดกลุ่มได้ด้วยแบ่งจากความสนใจ, อาชีพ, ตำแหน่ง, ประเภทธุรกิจ, ภูมิประเทศ หรืออื่นๆ จากนั้นก็สร้างประสบการณ์และข้อความเฉพาะของแต่ละกลุ่ม หากทำแบบนี้ก็จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์และช่วยให้ผู้ติดต่อของคุณเข้าสู่ช่องทางต่อไปของการขาย หากคุณมีเวลาเร่งด่วน คุณอาจจัดกลุ่ม Leads ตามเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • คุณสมบัติของผู้ติดต่อ เช่น ชื่อบริษัท, เมือง, ขนาด, ธุรกิจ, คุณภาพของ Leads, ระดับที่มีปฏิสัมพันธ์กัน
  • ช่องทางที่กรอกข้อมูลเข้ามา เช่น การดาวน์โหลดอีบุ๊กส์, สมัครสัมมนาออนไลน์ ฯลฯ
  • รวมเข้ากับกลุ่มที่มีอยู่แล้ว

เมื่อคุณสร้างกลุ่มย่อยแล้วคุณจะต้องช่วยให้กลุ่มผู้ติดต่อเหล่านี้ไปให้ถึงช่องทางการขายหรือกระบวนการทางการตลาด ในระหว่างที่นำเสนอความต้องการเฉพาะกลุ่มอยู่ คุณจะต้องสร้างแคมเปญฟูมฟักที่สามารถสะท้อนแต่ละกลุ่มย่อยได้และต้องมั่นใจว่ารายการผู้ติดต่อเหล่านี้เป็นคนใหม่ๆ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลจริงๆ

4. การทำการตลาดกับกลุ่มผู้ติดต่อที่มีอยู่

มาถึงตรงนี้ผู้มุ่งหวังได้เข้าสู่กระบวนการนำเสนอของคุณแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณต้องดึงดูดให้พวกเขาเหล่านี้อยู่กับคุณแล้ว

อันดับแรกเลยต้องคิดว่าคุณจะนำเสนอ Content Offer ของคุณอย่างไร อีเมล์ถือเป็นช่องทางการติดต่อผู้มุ่งหวังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่นี้คุณจะทำอย่างไรเพื่อนำเสนอ Content Offer เหล่านี้ผ่านอีเมล์ล่ะ?

  • การนำเสนอสินค้าหรือข้อมูลผ่านทางอีเมล์ (Dedicated Email Blasts)

Dedicated Email คือตัวช่วยนำเสนอ Content Offer ให้ผู้มุ่งหวังเข้าสู่กระบวนการแนะนำ CTA ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้คุณได้รับความสนใจจากผู้มุ่งหวังของคุณ แต่กระนั้นก็อย่าลืมระลึกถึงการนำเสนอ Content Offer โดยแบ่งแยกตามประเภทที่คุณแยกไว้ด้วย

  • เคล็ดลับสำหรับการนำเสนอข้อมูลผ่านอีเมล์

เคล็ดลับหลักๆ ก็คือต้องไม่ทำอะไรให้ยุ่งยากเหมือนอีเมล์ข่าว ซึ่งก็มีหลักการที่คุณจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนดังนี้

  • มี CTA เพียงแค่ตัวเดียว

จงจำไว้ว่าอีเมล์ต้องมี CTA เพียงตัวเดียว ไม่วาง CTA ไว้ท้ายสุดหรือไปพาดพิงถึงข้อความอื่นๆ ให้กลุ่มผู้มุ่งหวังนั้นสนใจอยู่แค่ที่อีเมล์ฉบับนี้ที่มีพลังดึงดูดมากที่สุดท่านั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือต้องโฟกัสอยู่ที่การสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

  • นำเสนออีเมล์เฉพาะบุคคลอย่างมีทักษะ

คุณสามารถส่งสัญญาณเตือนว่าเหล่าผู้มุ่งหวังนั้นรู้จักคุณแต่ต้องทำด้วยความเรียบง่าย ไม่แสดงออกถึงความพยายามและลุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งนั่นจะช่วยให้ยอกการเปิดอีเมล์สูงขึ้น

  • ออกแบบอีเมล์สำหรับแสดงบนโทรศัพท์มือถือ

คุณต้องมั่นใจด้วยว่าอีเมล์ที่คุณออกแบบนั้นเป็นมิตรกับการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน (ตามสถิติของ HubSpot ระบุว่า 25% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นเข้าถึงข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ)

  • สร้างอีเมล์ที่เป็นมิตรกับSocial Media และ SEO

เมื่อคุณส่งอีเมล์เพื่อนำเสนอการขายนั้น ควรทำปุ่ม Share ให้ผู้รับอีเมล์กดแชร์ Content Offer นี้ผ่านโซเชียลมีเดียของตัวเองได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังต้องทำให้มั่นใจด้วยว่าเครื่องมือในอีเมล์ของคุณนั้นมีหน้าตาที่คล้ายกับหน้าเว็บเพจหรือที่เรียกกันว่า HTML Email เพื่อช่วยเพิ่มคะแนนในการทำ SEO

  • นำ Template เดิมกลับมาใช้

เมื่อคุณมีเทมเพลตอีเมล์ที่ใช้อยู่แล้วซึ่งเป็นเทมเพลตที่ช่วยให้คุณได้ข้อมูลที่จำเป็นมาแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนเทมเพลตนี้แล้วใช้งานต่อ เช่น การเปลี่ยนหัวข้ออีเมล์ให้น่าดึงดูดมากขึ้น

  • เก็บข้อมูลวัดผล

เก็บข้อมูล CTR (Click Though Rate), Landing Page Conversions หรืออื่นๆ เพื่อนำมาประมวลผล

5. โปรโมทคอนเทนต์ผ่านช่องทางต่างๆ

มาถึงตอนนี้คุณก็มีโครงสร้างพื้นฐานของการทำแคมเปญการตลาดที่ดีแล้วไม่ว่าจะเป็น Content Offer ที่ดี Landing Page หรือ Workflow ที่ช่วยฟูมฟัก Leads ที่กำลังจะเข้ามา ดังนั้นก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องนำเสนอ Content Offer ของคุณผ่านโซเชียลมีเดียและบล็อกแล้ว

การทำบล็อกและโซเชียลมีเดียช่วยเพิ่มการเข้าถึงคอนเทนต์และช่วยเรียกผู้เยี่ยมชมให้เปลี่ยนเป็นผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้สินค้าได้ (Lead Generation) ให้ลองใช้ข้อความสั้นๆ ที่ตัดตอนมาจากข้อความในคอนเทนต์ของคุณมาใช้ในบล็อก หรือใช้ข้อความ คำคมมาโพสต์ในโซเชียลมีเดียของคุณ จำไว้แค่ว่าต้องเพิ่ม CTA ที่ลิงก์ไปที่หน้า Landing Page เพื่อการนำเสนอ Content Offer ของคุณด้วย

  • ใช้บล็อกในแคมเปญอย่างไร?

เมื่อคุณใส่ Content Offer ของคุณลงในบล็อกที่คุณสร้างขึ้น คุณควรเขียนข้อความให้เหมาะสมที่จะทำให้ผู้อ่านจดจ่าอกับข้อความนั้นๆ และใช้คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมเพื่อการสร้างอันดับที่ดีในการค้นหา อย่าลืมใส่ CTA ที่ชัดเจนเพื่อสร้างยอดให้กับ Content Offer ของคุณ

มาดูเคล็ดลับกัน!

  • ใช้ภาพที่ดึงดูด

ธรรมชาติของผู้อ่านนั้นชอบภาพสวยๆ ดังนั้นในบล็อกของคุณควรใส่ภาพที่บอกเล่าเรื่องราวในบล็อกหรือการแชร์ในโซเชียลมีเดีย ทั้งภาพ, กราฟฟิก, คลิป หรือกระทั่ง Infographic นั้นล้วนบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าข้อความที่เป็นตัวอักษร

  • เขียนหัวข้อที่ดึงดูด

หัวข้อคือส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในบล็อก เพราะว่าหัวข้อนั้นเปรียบเสมือนสิ่งที่ทำให้คนเปิดประตูเข้าสู่บล็อกของคุณ ในขณะที่มีองค์ประกอบหลายๆ อย่างที่ช่วยให้การสร้างบล็อกประสบความสำเร็จ สิ่งที่คุณควรทำให้ดีที่สุดนั้นก็คือการเรียกความสนใจจากผู้อ่านแหลอกล่อให้เขาอ่านบล็อกของคุณ ซึ่งนั้นก็คือการสร้างหัวข้อที่ดี ซึ่งประกอบไปด้วยความชัดเจน, ถูกต้อง, สะกดใจและเป็นมิตรต่อการทำ SEOโดยการคิดว่าคนจะเสิร์ชให้เจอบล็อกของคุณต้องใช้คีย์เวิร์ดอะไร

  • ใช้รูปแบบที่น่าสนใจ

ในการทำบล็อกมันสำคัญมากที่จะแตกประเด็นเนื้อหาออกมาให้สั้นและเข้าใจง่าย การอ่านคอนเทนต์ผ่านหน้าเว็บมันไม่เหมือนการอ่านหนังสือ ผู้อ่านในโลกออนไลน์นั้นต้องการที่จะเลื่อนผ่านหน้าบล็อกทั้งหมดแล้วประเมินคอนเทนต์อย่างรวดเร็ว การใช้หัวข้อย่อย, ตัวอักษรหนาและหัวข้อย่อย เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้บล็อกของคุณ

43% ของผู้อ่านยอมรับว่าอ่านผ่านๆ เพื่อสำรวจคอนเทนต์ ; HubSpot,2016

  • แชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย

สร้างบล็อกของคุณให้มีปุ่มแชร์ของโซเชียลมีเดีย (เช่น ปุ่ม “Like” หรือ “Share  ของ LinkedIn หรือปุ่ม“Tweet”) ในทุกบล็อก โซเชียลมีเดียนั้นยอมให้แฟนๆ แชร์คอนเทนต์ของคุณผ่านโซเชียลมีเดียส่วนตัวของแฟนๆ ได้ ซึ่งนั่นจะช่วยกระจายการเข้าถึงนอกเหนือกจากการเชื่อมโยงด้วยตัวคุณเอง

  • ใช้โซเชียลมีเดียในแคมเปญอย่างไร?

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับที่ช่วยโปรโมท Content Offer ทางการตลาดของคุณผ่านช่องทางต่างๆ ของโซเชียลมีเดีย

  • วางแผนความถี่และช่วงเวลาในการโพสต์

คุณต้องวางแผนความถี่ในการแชร์คอนเทนต์ที่ไม่เป็นการครอบงำหน้าฟีดของแฟนๆ มากเกินไป ความถี่ในการโพสต์นั้นก็ขึ้นอยู่กับช่องทางที่คุณโพสต์, ประเภทธุรกิจ และคอนเทนต์ที่คุณนำเสนอ ตัวอย่างเช่น บริษัทจัดหางานมักจะโพสต์ตำแหน่งงานซ้ำๆ เพื่อให้โอกาสในการค้นเจองานนั้นๆ มีมากขึ้น แต่ขณะที่คงไม่ดีแน่ถ้าคุณโพสต์ย้ำเตือนให้แฟนคลับดาวน์โหลดเอกสารเดิมๆ

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ช่วงเวลาเหมาะสม พบว่าผู้คนในโซเชียลมีเดียที่ต่างกันก็มีช่วงเวลาในการอ่านที่แตกต่างกันทั้งในระหว่างวันและช่วงเวลาระหว่างสัปดาห์ หรือ Buyer Personas ที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่ต่างกันก็ใช้เวลาต่างกันเช่นกัน ดังนั้นควรดูที่ข้อมูลที่คุณมีประกอบไปด้วย

  • เลือกช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับโพสต์ของคุณ

มันมีโซเชียลเน็ตเวิร์คหลากหลายตัวสำหรับนักการตลาด ตัวไหนล่ะที่คุณอยากจะใช้โปรโมท Content Offer ของคุณ จะใช้ทุกตัวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ให้ดูผลวิเคราะห์ทางการตลาดและรายงานเก่าๆ จากโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ที่คุณมีอยู่เพื่อจะบอกว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คตัวไหนที่เหมาะกับคุณ

  • เลือกโพสต์ให้เหมาะกับโซเชียลมีเดียประเภทต่างๆ

โซเชียลเน็ตเวิร์คแต่ละประเภทก็ต่างส่งผลต่อประสิทธิภาพการโปรโมทคอนเทนต์ต่างประเภทกัน คุณต้องหาให้เจอว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเหมาะกับ Content Offer ที่คุณสร้างขึ้นและใช้ส่วนประกอบของ Content Offer นั้นปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับโซเชียลเน็ตเวิร์คตัวนั้นๆ

  • ใช้ Hastag

เมื่อคุณโปรโมทแคมเปญผ่าน Twitter, Instagram, Google+ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์คใดๆ ก็แล้วแต่ Hastag # คือตัวช่วยเพิ่มความเข้าถึง เครื่องมือช่วยวิจัยที่ชื่อว่า Hastagify ช่วยให้คุณค้นหาและเปรียบเทียบความนิยมของ Hastags ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

หากคุณปล่อยแคมเปญใหญ่ๆ คุณสามารถสร้าง Hastag ใหม่เพื่อโปรโมทแคมเปญนั้นๆ (แต่ต้องมั่นใจว่าเป็น Hastag ใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน) เลือกอันที่เหมาะกับแคมเปญนั้นๆ แล้วโปรโมทลงใน Landing Page, ในอีเมล์หรือกระทั่งในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมันจะช่วยปรับปรุง Content Offer แคมเปญของคุณให้ดีขึ้นและช่วยให้คุณรู้ถึงกระแสผลตอบรับด้วย

6. ประเมินผลและแก้ปัญหาที่เกิด

มาถึงตอนนี้เมื่อคุณสร้างแคมเปญการตลาดจากต้นจนจบแล้ว คุณจะต้องกลับไปตรวจดูส่วนประกอบต่างๆ ของแคมเปญและประเมินผลออกมาว่าเมื่อมันแสดงผลเดี่ยวๆ หรือเป็นส่วนนึ่งของทั้งหมดเป็นอย่างไร?

ความจริงแล้วมีแนวทางตัวชี้วัดที่คุณจะใช้ประเมินผลความสำเร็จของแคมเปญอยู่หลาย ถ้าคุณกำลังพยายามแอบตรวจดูการแสดงผลทั้งหมดของแคมเปญแล้วล่ะก็ ลองเริ่มจากการวิเคราะห์ Landing Page ซึ่งเป็นเจ้าบ้านของแคมเปญ Content Offer ของคุณ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการแสดงผลนั้นได้ผลแย่?

ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันก็บอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกัน  ถ้าหาก Content Offer แคมเปญของคุณไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับที่คุณคาดหวังไว้ คุณจะต้องหาให้เจอว่าตัวชี้วัดตัวไหนที่ต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุง

  • ถ้าผู้เข้าชมของ Landing Page ค่อนข้างต่ำ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือพยายามโปรโมท Content Offer ให้มากขึ้น
  • ถ้า Conversion Rate ของ Landing Page ค่อนข้างต่ำ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือมุ่งไปที่การสร้าง Content Offer ที่ดึงดูดใจมากกว่านี้, ปรับปรุง Landing Page หรือการสร้างความมั่นใจว่าคุณนำเสนอ Content Offer ถูกคน
  • ถ้าจำนวนของ Leads ใหม่ๆ ที่มาจากแคมเปญนั้นต่ำ คุณจะไม่สามารถเข้าถึง Lead ใหม่ๆ ได้ หากว่า Content Offer ของคุณนั้นดีแต่มันดีเฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่กับคุณอยู่แล้ว ดังนั้นคุณจะต้องแผ่ขยายการเข้าถึงของคุณด้วยบล็อก, โซเชียลมีเดีย, Hastags หรือช่องทางอื่นๆ ผ่านกลุ่มเป้าหมายเก่า เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ช่วยแชร์ Content Offer ให้กลุ่มคนใหม่ๆ ได้เห็น
  • ถ้าจำนวนลูกค้าที่มาจากแคมเปญไม่ค่อยสูงมาก นี่อาจหมายความว่า Workflow ของคุณไม่ดีพอที่จะเปลี่ยน Leads ที่มีคุณภาพให้กลายเป็นลูกค้าได้ คุณอาจจะต้องกลับไปตรวจดู Workflow และทำให้มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากว่า Lead ที่คุณมีอยู่นั้นไม่ใช่ลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ คุณจะต้องคิดดูอีกทีว่า Content Offer ไหนกันที่จะทำให้คุณได้ลูกค้าที่ใช่

เรื่องเดียวกันที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เหลือของส่วนประกอบทางการตลาดซึ่งถูกนำมาใช้ในแคมเปญของคุณ คุณอาจจะนำมาใช้ค้นหาจำนวน Lead และลูกค้าใหม่ๆ ที่คุณสร้างขึ้นจากช่องทางต่างๆ และคุณก็ควรจะเข้าให้ถึงตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่แท้จริงซึ่งจะบอกคุณคร่าวๆ ได้ว่าจะพัฒนาตรงไหนเพื่อให้ได้แคมเปญของคุณได้ผล

ยกตัวอย่าง จริงๆ แล้วมี 2 ตัวชี้บ่งที่คุณจะคอยเผ้าดูเพื่อจะพัฒนาประสิทธิภาพของ CTA ของคุณ

  • ถ้าหากยอดคลิก CTA ของคุณต่ำ คุณอาจจะต้องออกแบบ CTA ใหม่และปรับเปลี่ยนช่องทางการนำเสนอให้น่าดึงดูดมากขึ้นซึ่งจะทำให้คนอยากคลิก CTA มากขึ้น อีกทั้งตำแหน่งที่จะทำให้ผู้เข้าชมมองเห็น CTA ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจเช่นกัน
  • ถ้ายอดกดปุ่มส่งผล (Click-to-submission) นั้นต่ำ ให้โฟกัสที่การปรับเปลี่ยน Landing Page ทำให้มันสวยงามเป็นไปในทิศทางเดียวกับ CTA และ Buyer Persona ของคุณ
  • ถ้ายอดคลิกเปิดอีเมล์นั้นต่ำ อาจเป็นไปได้ว่าหัวข้ออีเมล์หรือ Content Offer ของคุณไม่สะกดใจมากพอสำหรับผู้รับ หรือการนำเสนออีเมล์ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่จัดกลุ่มไว้ คุณอาจเริ่มต้นด้วยปรับเปลี่ยนหัวข้ออีเมล์และข้อความในอีเมล์ หรืออาจจะใช้เวลาในการจัดกลุ่มใหม่

เมื่อต้องทำบล็อกและการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ต่อไปนี้คือส่วนประกอบที่คุณจะต้องคอยจับตาดูให้ดีการวิเคราะห์บล็อกของคุณ (Blog Post Analytics)

  • ยอดผู้เข้าชม (Page Views)
  • Inbound Links
  • ยอด CTA
  • การวิเคราะห์ทางโซเชียลมีเดีย (Social Media Analytics)
  • ยอดลิงก์ CTR
  • ยอดแชร์ (Shares)
  • การแสดงความเห็นหรือการตอบกลับ (Comments/ Replies)

ตัวบ่งชี้แต่ละตัวนั้นจะช่วยให้คุณทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งในแคมเปญการตลาดของคุณ อย่างไรก็ตามอย่าลืมมองภาพรวม คุณจะต้องมุ่งประเด็นไปที่จำนวน Leads และลูกค้าคนใหม่ๆ ของแคมเปญ (รวมถึงกลุ่มคนใหม่ๆ จากแต่ละช่องทาง) ที่จะต้องถูกสร้างขึ้นด้วย